วันอาทิตย์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

อาการและการป้องกัน โควิท 19

https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/vdo.ph

โควิด-19

✌✌อาการทั่วไปมีดังนี้✌✌

            -มีไข้

            -ไอแห้ง

             -อ่อนเพลีย

            -อาการที่พบไม่บ่อยนักมีดังนี้

            -ปวดเมื่อยเนื้อตัว

            -เจ็บคอ

            -ท้องเสีย

            -ตาแดง

            -ปวด

            ศีรษะ

            -สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส

            -มีผื่นบนผิวหนัง หรือนิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี

 





วันจันทร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2564



โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน การทำตุง 
ณ กศน.ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม


 









          
                                                โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน การทำกุ๊บ                                 ณ บ้านสำราญเหนือ หมู่ 3 ต.อาจสามารถ อำเภอเมือง  จังหวัดนครพนม








 

วันมาฆบูชา

 

วันมาฆบูชา


 https://www.youtube.com/watch?v=u8f0K76qQdA


วันศุกร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม


วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563


วันวิสาขบูชา (Vesak Day) ได้ถูกรับรองให้เป็น “วันสำคัญสากล” ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 55 พ.ศ.2542 โดยได้รับการรับรองจาก 16 ประเทศ คือ ศรีลังกา บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน
ในที่ประชุม นายวรวีร์ วีรสัมพันธ์ อุปทูตคณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงตอนหนึ่งว่า "องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นมหาบุรุษผู้ให้ความเมตตาต่อหมู่มวลมนุษย์ เปิดโอกาสให้ทุกศาสนาสามารถเข้ามาศึกษาพุทธศาสนา เพื่อพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมานับถือศาสนาพุทธ และทรงสั่งสอนทุกคนโดยใช้ปัญญาธิคุณ โดยไม่คิดค่าตอบแทน..”
ประวัติวันวิสาบูชาในประเทศไทย มีระบุหลักฐานเป็นบันทึกของคนรุ่นก่อนที่กล่าวถึง “วันวิสาขบูชา” ว่าเป็นประเพณีที่กษัตริย์ได้เป็นผู้นำพุทธศาสนิกชน มาร่วมประกอบพิธีกรรม และบำเพ็ญกุศลในวันวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสมัยรัตนโกสินทร์มีระบุพระราชพิธีวิสาขบูชาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) จัดพระราชพิธีเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน เริ่มตั้งแต่ ขึ้น 14 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 6 ปีฉลู นพศก ราว พ.ศ. 1360

ความสำคัญวันวิสาขบูชา

วันวิสาขบูชา คือ การบูชาวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเดือน 6 ที่เวียนมาบรรจบในทุกๆ ปี เพื่อรำลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีเหตุการณ์สำคัญ เกิดขึ้นตรงกับวันเดียวกัน แต่คนละปี ดังนี้
ประสูติ 81 ปี ก่อนพุทธศักราช :
พระนางสิริมหามายามีพระประสูติกาลเจ้าชายสิทธัตถะ ที่รอยต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และเทวหะ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ถือเป็นวันประสูติของพระพุทธเจ้า
ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา :
เจ้าชายสิทธัตถะออกผนวชได้ 6 ปี ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นอรหันตพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ริ่มฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ประเทศมคธ ปัจจุบันคือที่ตั้งพุทธคยา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้น ยามต้นทรงระลึกชาติได้ทั้งหมดทั้งของตนเองและผู้อื่น ยามสอง ทรงบรรลุรู้แจ้งเห็นการเกิดและการดับของสรรพสัตว์ทั้งหลาย และยามสาม ทรงได้ตรัสรู้พบหลักธรรมกำจัดกิเลส ด้วย อริยสัจ 4
ในทุกวันครั้งที่พระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ ทรงปฏิบัติพุทธกิจ 5 ประการ ตลอดทั้งวัน ได้แก่
ตอนเช้า - เสด็จออกบิณฑบาตโปรดสัตว์เพื่อสนทนาแสดงธรรมให้ละความเห็นผิดและส่งเสริมให้ปฏิบัติชอบ
ตอนบ่าย - ทรงแสดงธรรมแก่ประชาชนที่มาเฝ้า ณ ที่ประทับ
ตอนเย็น - ทรงแสดงโอวาทแก่ภิกษุ ที่ประจำอยู่สถานที่นั้น
ตอนเที่ยงคืน - ทรงแก้ปัญหาหรือตอบปัญหาแก่เทวดา หรือเทพ หรือกษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพ
ตอนเช้ามืด - ทรงพิจารณาสัตว์โลกที่มีอุปนิสัยที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด เพื่อไปบิณฑบาตในช่วงเช้า

พระพุทธเจ้าปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 พรรษา :
ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ขณะพระชนมายุ 80 พรรษา ทรงประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวสาลี ระหว่างนั้นทรงประชวร และขณะเดินทางไปยังเมืองกุสินารา ทรงประทับ ณ ป่าสาละ ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน และได้กล่าวปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เฝ้าว่า “วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ” แปลว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด”


หลักธรรมสำคัญในวันวิสาขบูชา

“อริยสัจ 4” เป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าค้นพบวิธีการดับทุกข์ โดยมีความหมายว่าความจริงอันประเสริฐ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยะ มีอยู่ 4 ข้อ ได้แก่
  • ทุกข์ สภาพที่ทนได้ยาก
  • สมุทัย เหตุแห่งการเกิดทุกข์
  • นิโรธ การดับทุกข์
  • มรรค สาเหตุของการเกิดทุกข์ 8 ประการ
“กตัญญูกตเวทิตาธรรม” เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทรงเสด็จขึ้นไปแสดงธรรมให้แก่พระมารดาบนสวรรค์ พระมารดาจึงบรรลุพระโสดาปัตติผล และทรงเดินทางไปแสดงธรรมแก่พระบิดาบรรลุโสดาปัตติผล และในช่วง 7 วันสุดท้ายก่อนพระเจ้าสุทโธทนะสวรรคต พระองค์ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าอีกครั้งจนได้บรรลุพระอรหัตผล

ประเทศที่กำหนดให้วันวิชาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา หลายประเทศทั้งนิกายมหายาน และเถรวาทที่จัดพิธีกรรมศาสนาวันวิสาขบูชาจึงกำหนดให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่
  • อินเดีย
  • ไทย
  • เมียนมา
  • ศรีลังกา
  • สิงคโปร์
  • อินโดนีเซีย

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธ

กิจกรรมวันวิสาขบูชาของชาวพุทธในประเทศไทย และทั่วโลก แบ่งออกเป็น 3 พิธี ได้แก่ พิธีหลวง (พระราชพิธี), พิธีราษฎร์ (พิธีของประชาชน) และ พิธีสงฆ์ โดยช่วงเช้าของวันวิสาขบูชาพุทธศาสนิกชนจะร่วมกันทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมในช่วงบ่าย และเข้าวัดเวียนเทียนรอบอุโบสถ เพื่อรำลึกถึงพระกรุณา พระปัญญาคุณ และพระวิสุทธิคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่มีต่อพระพุทธศาสนา
และเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด-19 พิธีวิสาขบูชาของสำนักพระราชวังและภาครัฐจะจัดเป็นการภายใน ส่วนประชาชนมีคำแนะนำจากมหาเถรสมาคมงดกิจกรรม "เวียนเทียน" ที่วัด และแนะนำให้ปฏิบัติศาสนกิจพร้อมพระสงฆ์ที่บ้านแทน ทั้งวัดไทยและต่างประเทศ